เมื่อการสั่งงานด้วยเสียง และ Internet of Things รวมร่างกัน (Part 1)

Screen Shot 2559-05-19 at 1.38.06 PM

ก่อนอื่นเลยต้องขอเล่าก่อนว่า ผมชอบทำชอบคิดชอบทำไอเดียเกี่ยวกับการสั่งงานด้วยเสียงมานานแล้ว สมัยอยู่ในมหาวิทยาลัยมี Raspberry pi ที่เพิ่งออกมาใหม่ๆ ก็จับเล่นจับลองสั่งงานง่ายๆดู

ในตอนนั้นใช้ระบบของ Google กับความรู้ทางด้าน python นิดหน่อยในการทำลง Raspberrypi

ผมขอเล่าให้ฟังก่อนว่าระบบการสั่งงานด้วยเสียงผมแบ่งออกเป็นดังนี้ครับ

มนุษย์พูด > [ระบบรับเสียง] > [แปลงจากเสียงเป็นตัวอักษร (sound to text)] > [ทำตาม command ที่ตั้งไว้] > [ระบบแปลงจากตัวอักษรเป็นเสียง] > เสียงตอบกลับ

ในอดีตนั้นผมใช้ตัวแปลงจากเสียงเป็นตัวอักษร เป็นของ Google speech ครับ สามารถเข้าไปลองพูดลองเล่นได้ ที่ link ด้านล่างครับ

https://www.google.com/intl/en/chrome/demos/speech.html

(เมื่อก่อน api ตัวนี้เป็นตัวที่ใช้ฟรีและไม่จำกัดอะไรมากนัก แต่ปัจจุบันค่อนข้างจำกัดแล้วผมจึงย้ายค่ายไปเล่นตัวอื่น ที่จะนำเสนอในบทความหน้าครับ)

เมื่อผมแปลงจากเสียงเป็น text ได้แล้ว คราวนี้ผมก็เอามันรันคำสั่งได้ง่ายๆแล้วครับ โดยเขียนโปรแกรมประมาณนี้ครับ

if( text == “LED ON”){

DigitalWrite(LED,HIGH);

}

เห็นใหมครับไม่ยากเลยใช่ใหม ต่อไป ถ้าเราอยากให้เจ้าตัวโปรแกรมพูดออกมาหละจะทำอย่างไร ผมก็ใช้เจ้าตัว google อีกครับตอนนั้นผมเลือกใช้ google translate ครับ ทุกคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องใช้ตัวนี้ คำตอบคือ เจ้าตัวนี้เราสามารถส่งค่าตัวหนังสือแล้วเอาค่าเสียงที่ได้ออกมาได้เลย

https://translate.google.com/

ลองเข้าไปเล่นดูครับจะสังเกตุว่าเมื่อเราพิมพ์อะไรเข้าไป มันจะมีรูปลำโพงให้กด นั่นแหละครับผมดึงมาจากตรงนั้น
ผมจึงได้ระบบเสียงพูดจากตัวหนังสือมาครับ

ในตอนนั้นผมคิดว่าการนำเสียง ไปคุม LED เนี้ยมันยังไม่มีความหมายอะไรสำหรับผม มันแค่เป็นตัวพิสูจน์ว่า ผมทำอันนี้ได้นะ…ตอนนั้นมีกระแส  เขย่าโคอ่ารามาช ครับ แล้วบังเอิญเพื่อนผมที่อยู่ชุมนุม Robot ก็นั่งทำเครื่องเขย่าโคอารามาชมา ผมก็เฮ้ย เจ๋งว่ะ ถ้าเอามาคอนโทลด้วยเสียงน่าจะเท่ห์นะตอนนั้นก็เลย จัดไปครับ

ในตอนนั้นผมก็สนใจเรื่อง Internet of Things ด้วยครับ เคยคิดว่าเราจะสามารถสั่งงานสิ่งของต่างๆในระยะไกลๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เครื่องไม้เครื่องมือในเรื่องของ Hardware ยังไม่เป็นใจนัก เท่าที่ดูเป็นไปได้คือ sparkcore ที่ผมไปเจอใน kickstarter แล้วผมก็รีบระดมทุนเลยครับ เจ้าตัวนี้แหละ ราคาประมานสองพัน (โคตรแพงเลยเมื่อมองย้อนกลับไป T T) ผมจำได้ว่า ผมระดมทุนไป ประมานปีนึงครับ แล้วผมก็ได้ของในช่วงวันคริสมาสพอดี..สุดท้ายเล่นไม่เป็น จะร้อง ….

เอาหละตัดภาพมาถึงปัจจุบันที่มีฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานง่ายอย่าง NodeMCU และราคาโคตรถูก 200 – 500 บาท ใช้งานง่าย สามารถเขียนโปรแกรมแบบ Arduino ได้ แต่มันยากและเยอะสำหรับผู้เริ่มต้นอยู่ดี จึงมีความคิดว่าเรามาทำ librery ให้คนใช้ง่ายๆดีกว่าจนเกิดเป็น Anto ในปัจจุบันครับ

ในปัจจุบันมีคนทำเรื่องคำสั่งเสียงไว้มากมายครับ แต่ละที่มีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป ในไทยนั้นมีนักพัฒนาคนนึงทำเกี่ยวกับเรื่องระบบเลขาส่วนตัวบนมือถือครับ หลายๆท่านอาจจะรู้จักแล้ว นั่นคือ ฟ้าใส นั่นเองครับ

http://www.fahsai.in.th/

สามารถลองดาว์นโหลดไปเล่นดูได้เลยครับ

ผมสนใจว่าเอะ ระบบ Anto ที่เป็น Internet of Things ของเราจะเชื่อมต่อได้ใหมเลยได้ติดต่อนักพัฒนาแอพ ฟ้าใส ซึ่งตอนนั้นผู้พัฒนาสนใจในด้าน Internet of Things พอดี ก็เลยปรึกษาว่าจะเข้ากันในระบบแบบไหน จนสุดท้ายเราก็สามารถสั่งงาน Smart plug ด้วยเสียงได้ครับ

ในบทความต่อไป เราจะพูดถึงเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบัน ที่ใครๆก็ทำ siri ของตัวเองได้ มีตัวอะไรบ้าง และจะต่อยอดสั่งงานกับ Internet of things ด้วย Anto อย่างไร รอติดตามได้เร็วๆนี้ครับ

[—ช่วงโฆษณา—]
ตอนนี้ทางทีมงาน Anto กำลังจัดทำคอร์สสอน Besic Internet of Things by anto เป็นการปูพื้นฐานให้เข้าใจเรื่อง Internet of thing บทบาทสำคัญต่างๆ แล้วสอนการเริ่มต้นการเรียนรู้ Hardware ที่ใช้สำหรับการทำ Internet of thing เข้าใจง่าย ใช้เป็น นำมาประยุกต์ได้ด้วยเครื่องมือของ Anto โดยจะสอนความรู้ตั้งแต่ติดตั้งเครื่องมือ ไปจนถึงทำ Smart control LED ได้ และเรายังมี Spacial lab ทำ Weather station in 30 min with Anto ทำเสร็จครบจบใน 30 นาทีเอากลับบ้านได้เลย รอฟังข่าวอย่างเป็นทางการได้เร็วๆนี้ครับ

 

Facebooktwittergoogle_plusredditpinterestlinkedinmail